
เป็นโครงร่างภายใน ประกอบด้วย กระดูก 2 ส่วน คือ
1. กระดูกแกนกลาง มีทั้งหมด 80 ชิ้น ประกอบด้วย
1.1 กระดูกกะโหลกศีรษะ มี 29 ชิ้นคือ
(1) กระดูกท้ายทอย 1 ชิ้น
(2) กระดูกข้างศีรษะ 2 ชิ้น
(3) กระดูกหน้าผาก 1 ชิ้น
(4) กระดูกขมับ 2 ชิ้น
(5) กระดูกรูปผีเสื้อ 1 ชิ้น
(6) กระดูกใต้สันจมูก 1 ชิ้น
(7) กระดูกหน้า 14 ชิ้น
(8) กระดูกหู 6 ชิ้น
(9) กระดูกโดนลิ้น 1 ชิ้น
1.2 กระดูกท่อนสันหลัง มี 51 ชิ้น
(1) กระดูกคอ 7 ชิ้น
(2) กระดูกสันหลังตอนอก 12 ชิ้น
(3) กระดูกสันหลังตอนเอว 5 ชิ้น
(4) กระดูกก้นกบ 1 ชิ้น
(5) กระดูกปลายก้นกบ 1 ชิ้น
(6) กระดูกซี่โครง 2 ข้าง 24 ชิ้น
(7) กระดูกอก 1 ชิ้น
2. กระดูกรยางค์ มีทั้งหมด 126 ชิ้น ประกอบด้วย
2.1 กระดูกสะบัก ข้างละ 2 ชิ้น รวม 4 ชิ้น
2.2 กระดูกเชิงกราน ข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น
2.3 กระดูกแขน ข้างละ 30 ชิ้น รวม 60 ชิ้น
(1) กระดูกต้นแขน 2 ชิ้น
(2) กระดูกปลายแขนอันใน 2 ชิ้น
(3) กระดูกปลายแขนอันนอก 2 ชิ้น
(4) กระดูกข้อมือ 16 ชิ้น
(5) กระดูกฝ่ามือ 10 ชิ้น
(6) กระดูกนิ้วมือ 28 ชิ้น
2.4 กระดูกขา มีข้างละ 30 ชิ้น รวม 60 ชิ้น
(1) กระดูกต้นขา 2 ชิ้น
(2) กระดูกสะบ้า 2 ชิ้น
(3) กระดูกหน้าแข้ง 2 ชิ้น
(4) กระดูกน่อง 2 ชิ้น
(5) กระดูกข้อเท้า 14 ชิ้น
(6) กระดูกนิ้วเท้า 28 ชิ้น
กระดูกคนมี 206 ชิ้นทำหน้าที่เป็นแกนค้ำจุนให้ร่างกายอยู่ในตำแหน่งและลักษณะที่เหมาะสม ช่วยในการเคลื่อน
ที่โดยเป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อลาย ช่วยป้องกันอวัยวะภายในที่สำคัญ เพื่อไม่ใหได้รับอันตราย ช่วยสร้างเม็ดเลือด
แดงและเป็นแหล่งสะสมแคลเซียมของร่างกายทกระดูกสันหลังเป็นกระดูกที่มีรูปร่างไม่เหมือนกับกระดูกอื่นๆ
ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ เชื่อมต่อกัน กระดูกแต่ละข้อเชื่อมต่อกันด้วยกล้ามเนื้อและเอ็น ระหว่างกระดูกสันหลัง
แต่ละข้อที่เชื่อมต่อกันจะมีแผ่นกระดูกอ่อนซึ่งเรียกว่าหมอนรองกระดูก รองรับอยู่ช่วยเชื่อมให้กระดูกสันหลังแต่
ละข้อติดกันและช่วยป้องกันการเสียดสีขณะกระดูกสันหลังเคลื่อนไหว กระดูกซี่โครงทั้ง 12 คู่จะเชื่อม อยู่กระดูก
สันหลังตอนอกและกระดูกหน้าอกโดยมีกระดูกอ่อนเป็นตัวเชื่อม กระดูกซี่โครงคู่ที่ 11 และ 12 เป็นกระดูกซี่โครง
ซี่สั้นๆ ไม่เชื่อมอยู่กับกระดูกอกและไม่มีกระดูกอ่อนเรียกว่า กระดูกซี่โครงลอยที่กระดูกซี่โครงมีกล้ามเนื้อ2ชุดคือ
กล้ามเนื้อยึด
กระดูกซี่โครงด้านนอกและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงด้านในเมื่อกล้ามเนื้อยึดกระดูดซี่โครงด้านนอก
หดตัวจะยกกระดูกซี่โครงขึ้นทำให้ช่องอกกว้างขึ้นเกิดการหายใจเข้าและเมื่อกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงด้านนอก
คลายตัวและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงด้านในหดตัวก็ทำให้ช่องอกแคบเข้าเกิดการหายใจออก
ขึ้นไปด้านบน |